วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

..คำบอกรักภาษาต่งๆ








.. คำบอกรักภาษาต่าง ๆ ..

.. คำบอกรักภาษาต่าง ๆ ..
ภาษาไทย เรียกว่า ฉัน รัก คุณ
ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ไอ เลิฟ ยู (I love you)
ภาษาพม่า เรียกว่า จิต พา เด (chit pa de)
เขมร เรียกว่า บอง สรัน โอน (Bon sro Iahn oon)
เวียดนาม เรียกว่า ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
มาเลเซีย เรียกว่า ซายา จินตามู (Saya cintamu)
อินโดนีเซีย เรียกว่า ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
ฟิลิปปินส์ เรียกว่า มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
ญี่ปุ่น เรียกว่า คิมิ โอ ไอ ชิเตรุ (Kimi o ai shiteru)
เกาหลี เรียกว่า โน รุย สะรัง เฮ (No-rui sarang hae)
เยอรมัน เรียกว่า อิคช์ ลิบ ดิกช์ (Ich Liebe Dich)
ฝรั่งเศส เรียกว่า เฌอแตม (Je t''''aime)
ฮอลแลนด์ (ดัชต์) เรียกว่า อิค เฮา ฟาวน์ เยา (Ik hou van jou)
สวีเดน เรียกว่า ย็อก แอลสการ์ เด (Jag a Lskar dig)
อิตาลี เรียกว่า ติ อโม (Ti amo)
สเปน เรียกว่า เตอ เควียโร (Te quiero)
รัสเซีย เรียกว่า ยาวาส ลุยบลิอู (Ya vas Liubliu)
โปรตุเกส เรียกว่า อโม-เท (Amo-te)
จีนกลาง เรียกว่า หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
จีนแคะ เรียกว่า ไหง อ้อย หงี (Ngai oi ngi)
ฮกเกี้ยน เรียกว่า อั๊ว ไอ้ ลู่ (Auo ai Lu)
ตุรกี เรียกว่า เซนี เซวีโยรัม (Seni Seviyorum)


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ กาญจนา แก้วสูงเนินชื่อเล่น น้อยเกิดวันที่ 7 มีนาคม 2530ที่อยู่ 139/3 ต.โคกกระชาย อ. ครบุรี จ.นครราชสีมา30250
กีฬาที่ชอบ เซปักตระกร้อ เทเบิลเทนนิส
อาหารที่ชอบ กระเพราหมูกรอบไข่เจียว
หนังสือที่ชอบ นารุโตะ DRAGONBALLZ

บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งในเมืองและชนบทเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของกระแสเทคโนโลยีและนวัตกรรม เนื่องมาจากการพัฒนาระบบการจัดการและความก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ๆ ที่ช่วยพัฒนาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีศักยภาพสูงในการใช้งานมากขึ้น
ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี (technology) หมายถึง วิทยาการที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
หลักการใช้เทคโนโลยี
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรคำนึงถึงหลักการใช้ที่ถูกต้อง ดังที่ได้เสนอแผนไว้ดังนี้
1.ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรง
2.ประสิทธิผล (productivity) ช่วยให้การทำงานได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
3.ประหยัด (economy) ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงาน
เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆ
การนำเทคโนโลยีไปใช้ในงานสาขาวิชาชีพใด จะช่วยส่งผลให้การดำเนินงานสาขานั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อสาขาที่แตกต่างกันเท่านั้น เช่น
เทคโนโลยีทางการทหาร (military technology) หมายถึง กระบวนการ วิธีการ นำเอาความรู้แนวคิดหรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้เป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในการนำความรู้หรือแนวคิด
มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ความหมายทางการศึกษา
คำว่า “การศึกษา” (education) มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมการพัฒนา การส่งเสริมมนุษย์และสังคมให้มีความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม จึงเสนอตัวอย่างเพียงความหมายของการศึกษาตามความเห็นของนักปรัชญากลุ่มสังคมนิยมและกลุ่มเสรีนิยมไว้ดังนี้
1. ทัศนะแนวสังคม
2. ทัศนะแนวเสรีนิยม
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
1. ทำให้มีการเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
4. ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษา
5. ทำให้การเรียนอยู่แค่เอื้อม นำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารีบการศึกษามีมากขึ้น
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
การนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษามีมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล โดยนักเทคโนโลยีการศึกษาพวกแรกคือ กลุ่มโซฟิสต์ (The Elder Sophist) สอนแบบการบรรยายเพื่อสอนแก่มวลชน ต่อมา โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้น

ความหมายของเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอนเป็นภาพของการแสวงหาแนวทางและวิธีการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอนแตกต่างกันไปตามความเข้าใจ ความเชื่อ และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งจำแนกเป็น 2 ทัศนะ ได้แก่
1.ทัศนะทางวิทศาสตร์กายภาพ ทัศนะนี้มุ่งเน้นที่วัสดุอุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ
2.ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมมนุษย์เป็นสำคัญ
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆที่ผ่านการพิสูจน์และนำเอามาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทดลองจนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ในการส่งเสริม ปรับปรุง ระบบและกระบวนการทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเอง
2. การพิสูจน์ด้วยการวิจัย การทดลองใช้มาก่อน
3. นำวิธีระบบมาใช้ชัดเจน
4. ความคิดหรือกระทำใหม่ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี
นวัตกรรม เป็นคำที่มักจะถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า เทคโนโลยีเสมอ ทั้งสองคำมีความหมายและบทบาทคล้ายคลึงกันจึงนำเสนอด้วยแผนภูมิต่อไปนี้
เทคโนโลยี

นวัตกรรม เป้าหมายที่แน่นอน
…แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี

สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ดังนี้
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3 .ความก้าวหน้าด้านวิทยาการใหม่ๆ
ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากขึ้น
2 สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง การจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนในอดีตมีส่วนทำให้คนไทยมีพฤติกรรมเช่นนี้
2. คนไทยส่วนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะพึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการศึกษาหรือการเรียนการสอนที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มความวสามารถของแต่ละคน
บทสรุป
เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในนำความรู้หรือแนวคิดมาประยุกต์องค์ประกอบหรือองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่2ระบบวิธี

ความหมายวิธีระบบ
หมายถึง วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กันโดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์ประกอบของระบบ
1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ
2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นวิธีใดวิธี
หนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งสามารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
ขั้นตอนการจัดระบบ
ขั้นตอนการจัดการ
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
1.1 เคราะห์แนวทางการปฏิบัติ (mission analysis) คือการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
1.2 วิเคราะห์หน้าที่ (functional analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางการปฏิบัติงาน
1.3 วิเคราะห์งาน (task analysis) กำหนดไว้ในขั้นวิเคราะห์หน้าที่ และงาน
1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (methods-means analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย
2 ขั้นการสังเคราะห์ระบบ
วิธีการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) ช่วยให้มีสมดุลของขั้นตอนต่างๆ ในการแก้ปัญหามีขั้นย่อยดังนี้
2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
2.2 การแก้ปัญหา
2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
3.ขั้นการสร้างแบบจำลอง
วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ
3.1 แบบจำลองแนวนอน
3.2 แบบจำลองแนวตั้ง
3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
3.4 แบบจำลองแบบวงกลมหรือวงรี
3.5 แบบจำลองกึ่งแผนภาพกึ่งรูปภาพ
3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์
4. ขั้นการจำลองสถานการณ์
เพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง
วิธีระบบในการเรียนการสอน
1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีชี
1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.2 การกำหนดเนื้อหา
1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
1.6 การกำหนดเวลาเรียน
1.7 การจัดสถานที่เรียน
1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
1.9 การประเมิน
1.1 0การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา
3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี
วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
1. การผลิตสื่อ
2 .การใช้สื่อ
3. การเก็บรักษาสื่อ
บทสรุป
วิธีระบบเป็นผลของการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


บทที่3กระบวนการสื่อสาร

มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตตลอดชีวิต การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอน
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสารหมายถึง กกระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลต่างๆ หรือการถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยาท่าทางหรือ
สัญลักษณ์ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเข้าใจและความรู้สึกร่วมกัน
หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
1. การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
2. การสื่อสารเพื่อควบคุมสั่งการ
3. การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
4. การสื่อสารส่วนบุคคล
5. การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
6. การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ
รูปแบบของการสื่อสาร
แต่ละรูปแบบมีลักษณะสลับซับซ้อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผู้ส่งและผู้รับ การรู้จักเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละโอกาสจะช่วยให้กระบวนการสื่อสารแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบของการสื่อสารจำแนกได้ดังนี้
1. การจำแนกตามลักษณะของการสื่อสาร
1.1 การสื่อสารด้วยภาษา เป็นภาษาที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร
1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูดหรือการเปล่งเสียงหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ
1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ ภาษาที่เกิดจากการขีดเขียนเป็นรูปภาพ
2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง
2.1 สื่อสารทางตรง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีปฏิสัมพันธ์กันและกันโดยตรงเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารที่อาศัยสื่อหรือวิธีการต่างๆ เป็นพาหนะในการถ่ายทอดเนื้อหา
3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว เป็นสื่อสารที่ผู้ส่งเป็นกระทำแต่ฝ่ายเดียว
3.2 การสื่อสารสองทาง เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับมีโอกาสโต้ตอบกันได้ทันทวงที
4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร
4.1 การสื่อสารในตนเอง ตัวเองเป็นผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน
4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน อาจแลกเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและผู้รับ
4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล มีจำนวนผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล
4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารกับกลุ่มชนจำนวนมากกมายมหาศาล
อุปสรรคในการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถ
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง
3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญเรื่องที่จะรับ
4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน ภายนอกและภายใน
5. สารมีความยาวไม่เหมาะสม
6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
เป็นการสื่อสารแบบสองทางผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาเรื่องราวต้องเหมาะกับธรรมชาติของผู้รับ

การสื่อสารกับการรับรู้และการเรียนรู้
การรับรู้ สิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลายรับข้อมูลข่าวสารในระยะแรกนำเข้าสู่สมอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่ พฤติกรรมใหม่ ที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเรียกว่า การเรียนรู้
แบบจำลองของการสื่อสาร
1. แบบจำลองของลาสเวลล์
2. แบบจำลองของแวนนอนและวีเวอร์
3. แบบจำลองของ-เบอร์โล
4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์
การสื่อสารในการเรียนการสอน
ควรคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน เป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนหรือสื่ออื่นๆ
2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน
บทสรุป
การสื่อสารกระบวนการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้สึกนึกคิดประกอบด้วย ผู้ส่งเนื้อหา สาระ สื่อหรือช่องทางและผู้รับ
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการรับรู้และการเรียนรู้ มีจุดประสงค์และกระบวนการเหมือนกัน


บทที่ 4สื่อการสอน

สื่อการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง สื่อการสอนเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้มีการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้นแต่เสียเวลาน้อยลง
ความหมายของสื่อการสอน
หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ประสบการณ์ไปยังผู้เรียน
คุณค่าของสื่อการสอน
1. คุณค่าวิชาการ
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
คุณสมบัติของการสื่อสาร
1. สามารถจับยึดประสบการณ์ การกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วไว้ได้อย่างคงทน
2. สามารถจัดแจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
3. สามารถแจกจ่ายและขยายจำนวนของสื่อออกเป็นหลายฉบับ เพื่อเผยแพร่ไปสู่ผู้เรียนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำๆ กันได้หลายๆ ครั้งตามความต้องการ
ประเภทของการสื่อสาร
สื่อการสอนครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีหลากหลายชนิด การจำแนกประเภทของการสื่อสารสอนเป็นหมวดหมู่จึงทำได้หลายวิธีโดยใช้เกณฑ์ต่างกัน
1. การจำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ
1.1 วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบาๆ บางที่เรียกว่า ซอฟแวร์
1.2 อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่หรือสื่อหนัก บางที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์
1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วมในการกระบวนการเรียนการสอนมากที่สุด
2. การจำแนกตามแบบของสื่อ
2.1 สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่บรรลุเนื้อหาในรูปของตัวหนังสือเป็นหลัก
2.2 วัสดุกราฟิก เป็นสื่อที่แสดงเนื้อหาข้อความและรูปภาพ
2.3 วัสดุและเครื่องฉาย เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาและข้อความและรูปภาพลงในวัสดุฉายแล้วนำเสนอโดยผ่านเครื่องฉายต่างๆ
2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาด้วยเสียง
3. การจำแนกตามประสบการณ์
หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน
1. การเลือก
1.1 การเลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.2 การเลือกใช้สื่อตามระดับคุณค่าของสื่อ
1.3 การเลือกใช้สื่อตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน
2. การเตรียม
2.1 การเตรียมครู ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พิจารณาสิ่งที่เป็นปัญหาในการสอนแล้วแก้ไข
2.2 การเตรียมผู้เรียน อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะมีกิจกรรมอะไร ผู้เรียนควรทราบล่วงหน้า กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
2.3 การเตรียมชั้นเรียน จัดโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนให้เพียงพอ ให้ทุกคนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ให้เป็นระเบียบและเรียงตามลำดับ
3. ขั้นการใช้หรือการแสดง
4. ขั้นติดตามผล
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อสารการเรียนการสอน
1. สื่อการสอนประเภทที่ไม่ต้องใช้เครื่องฉาย
1.1 สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ความถนัดในการอ่าน
1.2 ของจริง ของตัวอย่างมีข้อดีคือ แสดงเนื้อหาสาระที่เป็นจริงได้ตามสภาพของสิ่งนั้น
1.3 หุ่นจำลอง มีข้อดีคือ มีลักษณะเป็น 3 มิติ สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
1.4 วัสดุกราฟิก ช่วยแสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาให้สามารถเปรียบเทียบได้
1.5 กระดานชอล์ก มีข้อดี คือ ต้นทุนในการผลิตและการใช้ต่ำ พื้นที่มีขนาดใหญ่
1.6 กระดานแม่เหล็ก มีข้อดีคือ สามารถนำเนื้อหาหรือรูปภาพที่ใช้แล้วกลับมาใช้ได้อีก
2. สื่อการสอนประเภทที่ต้องใช้กับเครื่องฉาย
2.1 แผ่นโปร่งใส
2.2 สไลด์
2.3 ฟิล์มสตริม
2.4 ภาพยนตร์ วีดิทัศน์
2.5 โทรทัศน์ วงจรเปิด
2.6 โทรทัศน์ วงจรปิด
3. สื่อการสอนประเภทวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
3.1 แผ่นซีดี คอมแพ็คดิสก์
3.2 ซีดี-รอม
3.3 แผ่นซีดี-รอมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4 วิทยุกระจายเสียง
3.5 สื่อประสม
4. สื่อการสอนประเภทกิจกรรมหรือวิธีการ
4.1 การศึกษานอกสถานที่
4.2 การสาธิต
4.3 การจัดนิทรรศการ
4.4 การแสดงบทบาทสมมุติ
บทสรุป
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 5สื่อการสอนประเภทวัสดุ

สื่อการสอนประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
ความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุ
คำว่า “วัสดุ” ตรงกับคำว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซินแคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุ หมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา
สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคา
สิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดี บางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อวัสดุ
สื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือ
สื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลอง
สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์

สื่อวัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดำ ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็นอวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็นได้โดยทั่วไปมากกมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
คือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาการเรียนรู้
4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี
คือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
5. การออกแบบวัสดุกราฟิก
คือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคำนึงถึงการสื่อความหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบ
6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิก
สื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ
ส่วนข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
7.1.1.1 แผนภูมิต้นไม้
7.1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
7.13 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
7.1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
7.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
7..1.6 แผนภูมิแบบตาราง
7.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
7.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
7.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
7.2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
7.2.1 .2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
7.2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
7.2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
7.2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
7.3 แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
7.4 ภาพพลิก
7.5 ภาพชุด
7.6 แผนภาพ
7.7 ภาพโฆษณา
7.8 แผนโปร่งใส
สื่อวัสดุ 3 มิติ
1. ความหมายของสื่อวัสดุ 3 มิติ
หมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้างขวาง ความยาว ความหนาลึก
2. ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
2.1 หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง 5
2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
2.4 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดี
สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
2.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
2.3 แผ่นซีดี
2.4 แผ่นวีซีดี
2.5 แผ่นดีวีดี
2.6 แผ่นเอสวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดี
บทสรุป
สื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง

บทที่ 6สื่อการสอนและประเภทอุปกรณ์


สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือสื่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า โสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ การแสดงเนื้อหาที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่และเสียงที่ดังที่เหมาะสม เครื่องมือระดับพื้นฐานที่มีใช้อยู่ทั่วไปจนถึงเครื่องมืออุปกรณ์รุ่นใหม่ โดยแยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
เครื่องฉาย
เครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายสไลด์ นอกจากนนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่อง วิชวลไลเซอร์

1.ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
เครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย และจอ

หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ให้ภาพปรากฏบนจอ ซึ่งมีด้วยกัน 3 หลอด

หลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่ ภายในบรรจุด้วยไนโตรเจน หรือ อาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตนให้ความร้อนสูง
หลอดฮาโลเจน มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ ตัวหลอดทำด้วยหินควอร์ทซ์ ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารฮาโลเจนและไอโอดีน ให้แสงสว่างขาวนวลสดใส
หลอดซีนอนอาร์ค มีลักษณะ เป็นหลอดยาวตรงกลางโปร่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน ใช้กับการฉายในระยะใกล้ๆ ให้เห็นภาพขนาดใหญ่ ๆ
แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่ สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉาย ไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ลักษณะของแผ่นสะท้อนแสง ทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง เช่น เงิน หรือ ปรอท
วัสดุฉาย เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และ สัญลักษณ์ วัสดุฉายต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ ได้แก่ ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง วัสดุฉายมีหลายชนิด
วัสดุโปร่งใส หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายในวัสดุนั้น
วัสดุโปร่งแสง หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่จะเกิดการหักเหบ้าง
วัสดุทึบแสง หมายถึง วัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบบนวัสดุจะสะท้อนกลับทั้งหมด
1.4 เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือ พลาสติกใส มีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบเลนส์ทำให้ภาพถูกขยายเลนส์ ในเครื่องฉายมี 2 ชุด คือ เลนส์ควบคุมแสง และเลนส์ฉาย

1.5จอ เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆ
1.5.1 ชนิดของจอ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ จอทึบแสง และจอโปร่งแสง
1.5.1.1 จอทึบแสง เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้าจอ จะฉาบผิวหน้าจอด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่างๆ
1.5.1.2 จอพื้นทรายแก้ว ผิวหน้าจอฉาบด้วยเม็ดแก้วละเอียด ทำให้สะท้อนแสงได้ดีมาก และได้ไกล จอชนิดนี้ จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องแคบๆ
1.5.1.3 จอผิวเรียบหรือจอผิวเกลี้ยง ผิวหน้าของมีสีขาวเรียบแต่ไม่เป็นมัน ให้แสงสะท้อนปานกลาง จอนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัตหรือ ห้องเรียนทั่วๆไป สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
1.5.1.4 จอเงิน ทำด้วยพลาสติกหรืออลูมิเนียมใช้ในการฉายภาพสีและวัสดุ 3มิติ
1.5.1.5 จอเลนติคูล่า มีผิวจอทำด้วยพลาสติกที่เรียกว่า เฮฟวี่พลาสติก เหมาะกับห้องกว้างและขนาดใหญ่
1.5.1.6 จอเอ็คต้าไลท์ ทำด้วยโลหะหรือไฟเบอร์กลาส น้ำหนักเบา ผิวโค้ง สีมุกเป็นมันสะท้อนแสงได้ดี ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างตามปกติได้ แต่ไม่เหมาะกับเครื่องฉายข้ามศีรษะ
1.5.1.7 จอโปร่งแสง เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง ฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า จอฉายกลางวัน
1.5.2 การติดตั้งจอ ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้ชม การติดตั้งจอให้มีประสิทธิภาพควรยึดหลักดังนี้ คือ ไม่ควรให้แสงสว่างผ่านเข้าด้านหลังจอโดยตรง ขอบด้านล่างของจอควรอยู่ระดับสายตาของผู้ชม จอกับเลนส์ควรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกัน ไม่สูงไม่ต่ำ ไม่เยื้องซ้าย เยื้องขวา กับเครื่องฉาย
1.5.3 ปัญหาการติดตั้งจอไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้รูปที่ปรากฏมีลักษณะบิดเบี้ยว สัดส่วนผิดแปลกจากธรรมชาติ

2. ประเภทของเครื่องฉาย
2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องมือที่ใช้กับผู้เรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบ
2.1.1 ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ มี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนประกอบภายใน และส่วนประกอบภายนอก
2.1.1.1 ส่วนประกอบภายนอก ซึ่งประกอบด้วย
1. ตัวเครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่อง ทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแผ่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านบนสำหรับสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านหลังมีสายไฟและสวิตช์ควบคุมการทำงาน
2. แขนเครื่องฉายและหัวฉาย เป็นเสาประกบติดกับเครื่องฉาย มีไว้สำหรับยึดหัวฉายซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ด้วยปุ่มหมุนที่มีแกนเป็นเฟือง
3. อุปกรณ์การฉายพิเศษ เทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบวัตถุเคลื่อนไหว หรือ เรียกว่า โพลาไรซิ่ง ทรานสพาเรนซี่
4.แท่นวางวัสดุฉาย เป็นแผ่นกระจกใสวางในระนาบแนวนอนอยู่เหนื่อเลนส์ควบแสงหรือเลนส์เกลี่ยแสงซึ่งอยู่ในเครื่องฉาย
5.เลนส์ฉาย เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ ขยายภาพตัวอักษรหรือวัสดุฉายอื่นๆ ให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏที่จอ
6. กระจกเงาระนาบ เป็นกระจกเงาทำมุมเอียง 45องศา ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์เกลี่ยแสง
2.1.1.2 ส่วนประกอบด้วยส่วนต่างๆ
1.หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ติดตั้งไว้ในเครื่องฉาย ซึ่งมักทั่วไปเป็นหลอด ฮาโลเจน
2. แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่ หักเหแสงออกทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปด้านหน้า ทำให้แสงมีความเข้มข้นมาก
3. เลนส์เกลี่ยแสง เป็นกระจกหรือพลาสติกใสมีร่องขนาดเล็กเต็มทั่วแผ่น
4. สะท้อนไปที่เลนส์ฉายต่อไป
5. กระจกเงาสะท้อนแสง เป็นกระจกเงาติดตั้งไว่ภายในเครื่องฉาย เพื่อรับแสงจากหลอดฉาย
6. พัดลม ทำหน้าที่ ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย เรียกว่า เทอร์โมสตัท
2.2 เครื่องฉายสไลด์ เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
2.1.1 ประเภทของเครื่องฉายสไลด์ มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
2.2.1.1 เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป
2.2.1.2 เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ เป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือเครื่องควบคุมการฉายได้
2.2.2 ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนนอก และส่วนใน
2.2.2.1 ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย ร่องใส่ถาดสไลด์ ปุ่มสวิตช์ปิด-เปิด ช่องเสียบสายไฟ และช่องใส่เลนส์
2.2.2.2 ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย พัดลม สะพานไฟ
2.2.3 ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์ ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะ
2.2.3.1 ถาดสไลด์แบบเป็นราง ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน 2 ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
2.2.3.2 ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
2.2.3.3 ถาดสไลด์แบบกลม เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
2.3เครื่องฉายแอลซีดี เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย
2.4 เครื่องดีแอลพี กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024

เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
หน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเสียง



ประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
ปัจจุบันเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณทีหลายประเภท
2.1 เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องฉายแปลง ได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว หลักการทำงาน ของเครื่องวิชวลไลเซอร์คือ การแปลงสัญญาณภาพของวัตถุ
2.2 เครื่องเล่นวีดิทัศน์ หรือที่เรียกกันทัวไปว่าเครื่องเล่นวิดีโอ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่ดหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียงถ่ายทอดออกทางจอโทรทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
2.2.1 ประเภทของเครื่องเล่นวีดิทัศน์ ปัจจุบันเครื่องเล่นวีดิทัศน์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามาก มีหลายรูปแบบซึ่งพอแบ่งอกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
2.2.1.1 แบบยู-เมติก เป็นเครื่องเล่นระดับกึ่งมืออาชีพ หรือใช้ในระดับสถาบันการศึกษาและในสถานีโทรทัศน์
2.2.1.2แบบวีเอชเอส เป็นเครื่องเล่นที่ใช้คามบ้าน ราคาถูก บรรจุในตลับเทปที่สามารถเล่นได้นานแตกต่างกัน
2.2.1.3แบบเบต้า เป็นรูปแบบเฉพาะของบรัษัทโซนี คุณภาพของภาพดี และมีขนาดตลับเล็กกว่าแบบวีเอชเอสเล็กน้อย
2.2.1.4 แบบดีวี เป็นการบันทึกภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัลทีมีความคมชัดเหมือนต้นฉบับ เพราะไม่มีการสูญเสียสัญญาณระหว่างการบันทึกและตัดต่อ โดยการใช้สายไฟไวร์ ซึ่งเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณดิจิทัลกับดิจิทัลโดยตรง ปัจจุบันระบบดีวีกำลังได้รับความนิยมสูง
2.2.1.5แบบมินิดีวี เป็นระบบการบันทึก และเล่นภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัลเหมือน กับแบบดีวี แต่มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กับกล้องดิจิทัลขนาดเล็ก
2.2.2 การติดตั้งเครื่องเล่นเทปวีดิทัศน์ สามารถนำมาติดตั้งเชื่อมต่อเพื่อฉายภาพและเสียงกับอุปกรณ์ต่างๆได้ 3 ประเภท ได้แก่
2.2.2.1 เครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา ที่ใช้กันตามบ้านโดยการต่อสาย video out กับ audio out จากเครื่องเล่นเทปวิดีทัศไปยังช่อง video in และ audio in
2.2.2.2 จอมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณจากสายโดยตรง โดยมีสายสัญญาณภาพและสายสัญญาณเสียงอย่างละ 1 สาย
2.2.2.3 เครื่องรับโทรทัศน์และมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานในลักษณะเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์

2.3 เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดี ระบบดิจิทัล ที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแบบภาพวีดิทัศน์ เพื่อเสนอทางภาพจอโทรทัศน์
2.4 เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพวีดิทัศน์และเสียงเพื่อฉายบนจอโทรทัศน์
เครื่องเสียง
1.แหล่งกำเนิดเสียง
1.เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นส้เทือนจะจัดอากาศให่เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง
ส่วนประกอบของการขยายเสียง
การขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่มีเสียงเบาไม่สามารถรับฟังได้ในระยะไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่แปรเปลี่ยนตามความถี่เสี่ยง แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลายๆเท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำ หน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง เช่นเครื่องขยายเสียง
เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ ภาคสัญญาณเข้า ภาคขยายเสียง ภาคสัญญาณออก
ภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน
ภาคขยายเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียง
ภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง
ไมโครโฟน
ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน ทำให้แผ่นสั่นสะท้อนสั่นตามความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณจากการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที การแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือประเภทของโครโฟน
1. ประเภทของไมโครโฟน
เราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2รูปแบบ คือ การจำแนกตามลักษณะทิศทางของการรับเสียง และการจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟน
การจำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4ชนิด คือ
โอมนิไดเร็กชั่นแนลไมโครโฟน เป็นไมโครโฟนที่มีมุมรับเสียงได้รอบทิศทาง 360 องศา
ยูนิไดเร็กชั่นแนลไมดครโฟน สามารถรับเสียงได้จากทางด้านหน้าทิศทางเดียว โดยมุมรับไม่เกิน 180 องศา
คาร์ไดโอดส์ไมโครโฟน รับเสียงได้ด้านหน้าทิศทางเดียวโดยบริเวณรับเสียงมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
ไบไดเร็กชั่นแนลไมโครโฟน รับเสียงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง โดยมุมรับแต่ละข้างไม่เกิน 60 องศา
การจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟนมี 6 ชนิดคือ
ไมโครโฟนใช้ผงถ่าน เป็นส่วนประกอบสำคัญมีคุณภาพต่ำ มีความไวเสียงน้อย ปัจจุบันใช้กับเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น
ไมโครโฟนใช้ผลึกของเกลือ เป็นตัวเปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวน้อย ไม่ทนทานต่อความร้อนและความชื้น
ไมโครโฟนเซอรามิค มีหลักการเดียวกันกับไมโครโฟนที่ใช้ผลึกของเกลือ แต่เปลี่ยนเป็นวัสดุเซอรามิคแทนผลึกเกลือทำให้ทานต่อความร้อนและความชื้นได้ดีกว่า
ไมโครโฟนคอนเด็นเซอร์ มีหลักการคือ เมื่อแผ่นสั่นสะเทือนเกิดสั่นสะเทือนจะทำให้ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้าไมโครโฟนชนิดนี้มีความไวในการรับเสียงดี มีขาดเล็ก ราคาไม่แพง จึงนิยมนำมาใช้ในเครื่อง เสียงทั่วไป
ไมโครโฟนริบบอน โดยการใช้แผ่นริบบอนอลูเนียมบาง เป็นตัวสร้างสัญญาณไฟฟ้าทำให้มีคุณภาพเสียงดีมาก แต่มีจุดอ่อนที่ค่อนข้างบอบบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนย้ายและมีราคาแพง
ไมโครโฟนไดนามิก ใช้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กถาวร เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำเหมือนการทำงานของลำโพง ไมโครโฟนชนิดนี้ในคุณภาพรับเสียงดี แข็งแรงทนทาน มีตั้งแต่ราคาถูกจนถึงราคาแพง
ความต้านทานของไมโครโฟน เป็นความต้านทาน ทีเกิดขึ้นขณะมีสัญญาณหรือกระแสสลับไหลผ่านไมโครโฟนมีหน่วยเป็นโอห์ม ค่าความต้านทานของไมโครโฟนมี 2 จำพวก คือ
ค่าความต้านทานสูง เป็นค่าความต้านทานของไมโครโฟนชนิดผลึกและเซรามิค ซึ่งเป็นพวกที่มีราคาถูกตอบสนองต่อความถี่ไม่ดี ถ้าใช้สายยาวเกิน 25ฟุต จะมีเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมได้ง่าย
ค่าความต้านทานต่ำ เป็นค่าความต้านทานของไมโครโฟนทั่วๆไป สามารถใช้สายยาวได้นับร้อยฟุตโดยไม่มีเสียงฮัม ตอบสนองต่อความถี่สูงได้ดี เหมาะ ที่จะใช้กับเครื่องขยายเสียงแบบทรานซิสเตอร์
การใช้ไมโครโฟนให้ได้ผลดีควรพูดตรงด้านหน้าของไมโครโฟนให้ปากอยู่ห่าง ประมาณ 6-12นิ้ว การทดลองไมโครโฟนไม่ควรใช้วิธีเป่าหรือเคาะให้พูดออกไปได้เลย

เครื่องขยายแสดง
เครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียงมีหน่วยวัดเรียกเป็น วัตต์
การทำงานของเครื่องขยายเสียง
โดยปกติการทำงานของเครื่องขยายเสียงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนรับสัญญาณเข้าเพื่อการปรับแต่งและส่วนขยายสัญญาณ
ส่วนรับสัญญาณเสียงเข้าจากสัญญาณแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดี เทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง สัญญาณจะถูกนำเข้ามาเพื่อการปรับแต่งให้เสียงเกิดความสมดุลตามความต้องการแล้วจึงนำไปขยายให้มีกำลังมากขึ้น เครื่องขยายเสียงส่วนนี้ จะมีช่องเสียง เพื่อนำสัญญาณเข้า
ส่วนขยายสัญญาณ เป็นส่วนรับเอาสัญญาณที่ปรับแต่งและขยายขั้นต้นแล้วมาขยายเสียงให้มีกำลังเพิ่มขึ้นตามความต้องการเพื่อส่งไปยังลำโพง ในเครื่องขยายชุดนี้จะสวิตช์และควบคุมด้านหน้าเครื่องดังนี้ สวิตช์สำหรับปิด/เปิด ปุ่มสำหรับควบคุมความดังเบาของสัญญาณเข้าแต่ละช่อง ปุ่มใหญ่สำหรับควบคุมเสียงดังเบาของสัญญาณเข้าทั้งหมด
ชนิดของเครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ 4 ชนิด คือ
เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมากๆ มีข้อดีทีบำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยน
เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ เป็นเครื่องขยายเสียงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายสะดวก
เครื่องขยายเสียงแบบผสม เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมผสานในหลอด สุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์ ไอ ซี เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป ทำให้มีขนาดกระทะรัด ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่น และมีกำลังขยายไม่มากนัก
ระบบของเครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบันมี 2ระบบ คือ
ระบบโมโน เป็นเครื่องขยายเสียงเครื่องเดียวที่หน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงหลายๆ ชนิดรวมกันแล้วส่งไปออกที่ลำโพงตัวเดียว การขยายเสียงในระบบนี้อาจทำให้เสียงหักลบกันจนขาดความไพเราะหรือผิดเพี้ยนจากต้นเสียงเดิม
ระบบสเตริโอ เป็นระบบการขยายเสียงที่ใช้เครื่องขยายเสียงมากกว่าหนึ่งเครื่องไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงที่ต่างกันหลายๆแห่งเครื่องขยายเสียงระบบสเตริโอที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นแบบสเตริโอ 2ทิศทาง คือมีเครื่องขยายเสียง 2 เครื่องอยู่ในชุดเดียวกันมีส่วนรับสัญาณเข้าเป็นคู่ๆ นำไปขยายในเครื่องชุดที่ 1และชุดที่ 2แล้วส่งออกลำโพงชุดละตู้
การใช้เครื่องขยายเสียง การใช้เครื่องขยายเสียงในการเรียนการสอนหรือการบรรยายในที่สาธารณะให้ประสิทธิภาพ ต้องตรวจให้แน่ชัดว่าเครื่องขยายเสียงนั้นใช้กับไฟชนิด AC หรือ DCกี่โวลต์ เลือกสัญญาณ input ให้เหมาะกับชนิดของแหล่งสัญญาณสัญญาณ ก่อนเปิดสวิตช์ให้ต่อวงจร input และoutput ที่ให้ค่าความต้านทานพอดีไมโครโฟนและลำโพง แล้วลดปุ่มควบคุมความดังของเสียงให้ต่ำสุด ถ้าเป็นเครื่องชนิดหลอด ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง 1-3นาที ให้หลอดร้อนพอที่จะทำงานได้ก่อน

ลำโพง
ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก ซึ้งทำงานโดยใช้วิธีการเหนียวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า ทำให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น
1 ประเภทของลำโพง ลำโพงจำแนกตามสมบัติในเปล่งเสียงมี 4 ประเภท คือ
1.1ลำโพงเสียงทุ้มเป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำๆประมาณ 30-500เฮิร์ทซ มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป
1.2ลำโพงเสียงกลาง เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500-8000 เอิร์ทซ ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
1.3ลำโพงเสียงแหลม เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 กิโลเฮิร์ทซมีขนาดเล็ก
1.4 ลำโพงกรวยซ้อน เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2-3ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียวกัน

2 การใช้ลำโพง การใช้ลำโพงให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีในการใช้งานอยู่เสมอ ควรมีวิธีดังนี้คือ ต้องให้ค่าความต้านทานรวมของลำโพงเท่า หรือใกล้เคียงกับค่าความด้านทานของช่องสัญญาณออก ให้ค่าความต้านทานรวมของโพงเท่า หรือใกล้เคียงกับค่าความต้านทานของช่องสัญญาณออก ให้ค่ากำลังขยายของลำโพงเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง

บทที่ 7สื่อการสอนประเภทกิจกรรม


เป็นสื่อการสอนที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

ความหมายของสื่อการสอนประเภทกิจกรรม
กิจกรรม หมายถึง การที่ผู้เรียนปฎิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้
สื่อการสอนประเภทกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วยการ ดูการฟัง การสังเกต การทดลอง การสัมผัส จับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเภทของสื่อประเภทกิจกรรม
การสาธิต
การสาธิต คือ กระบวนการที่ผู้สอน หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดง หรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก การอธิบาย ให้ผู้เรียนได้สังเกตและเรียนรู้ ผู้เรียนจเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต ซึ่งทำให้การสอนแบบสาธิตมีคุณค่าหลายประการ
คุณค่าของการสาธิต การสาธิตเป็นสื่อมีคุณค่าต่อกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนดังนี้
เป็นจุดรวมความสนใจของผลเรียน
การสาธิตเหมาะกับการแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวกับกระบวนการได้ดี
การสาธิตเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนจึงมีส่วนร่วมอย่างจิงจัง
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
สามารถใช้กับกระบวนการเรียนการสอนได้ทั้งวิชาที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบ
ประหยัดค่าใช้จ่าย ทุ่นเวลา
ประเภทของการสาธิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
การสาธิตวิธี คือ วิธีการแสดงวิธีทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมเห็นวิธีการเป็นขั้นตอนต่างๆ
การสาธิตผล คือ การแสดงให้เห็นผลจากการกระทำตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ
วัตถุประสงค์ในการสาธิต การสาธิตสามารถนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้
เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้เรียนทั้งในขั้นนำเข้าสู้บทเรียน
เพื่อถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ การสร้างประเด็นให้ผู้เรียนคิดหาทางแก้ปัญหา
เพื่อสน้างความเข้าใจในเนื้อหา หลักการ และความคิดรวบยอดของบทเรียนทั้งในขั้นการสอนและการสรุปเนื้อหาบทเรียน
เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ
ขั้นตอนในการสาธิต ซึ่งมีวิธีการดำเนินงาน อยู่ 3ขั้นตอน คือ การเตรียม การสาธิต การประเมินผล
ขั้นการเตรียม เป็นขั้นรวบรวมเนื้อหา วัสดุอุปกรณ์การซักซ้อมขั้นตอน การสาธิตก่อนลงมือสาธิตจริง การเตรียมที่ดีย่อมทำให้การสาธิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
กำหนดเป้าหมายของการสาธิตว่าจะให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการสาธิต
จัดสถานที่ที่จะสาธิตให้เรียบร้อย
การสาธิตที่ดีมีประสิทธิภาพในการแสดงต้องเตรียมวัสดุที่จำเป็นให้พร้อมและจัดเรียงไว้ตามลำดับการใช้ทั้งก่อนและหลัง
การเตรียมความพร้อมใช้กับผู้เรียน โดยบแกวัตถุประสงค์
ทดลองซักซ้อมขั้นตอนต่างๆ ให้เกิดความคล่องแคล่ว
วางแผนหาวิธีกระตุ้นเพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียนตลอดเวลา
เตรียมเอกสารประกอบการสาธิตให้พร้อม
ขั้นการสาธิต เป็นขั้นการแสดงวิธีการหรือกระบวนการประกอบการบรรยาย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
อธิบายลำดับให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อน
ขณะอธิบายครูควรใช้แผ่นภูมิหรือรูปภาพประกอบ
สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและติดตามโดยวิธีถาม
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ขั้นการประเมินผล เมื่อการสาธิตเสร็จสิ้นลงควรทำการประเมินผลทันที อาจทำได้ 2 แบบ
1 ประเมินการเรียนของผู้เรียน
2 ประเมินผลการสอนของครูสาธิต
2. การจัดนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการ คือ การนำเอาทัศนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
เช่น แผนภาพ รูปภาพ กราฟ วัสดุ 3มิติ
2.1 คุณค่าของนิทรรศการ สื่อนิทรรศการมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนคือ ช่วยรวมความคิดที่กระจัดกระจายมาสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้ถูกต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการกระทำงานเป็นหมู่คณะ ฝึกความอดทน ความรับผิดชอบ
2.2 ประเภทของนิทรรศการ นิทรรศการที่พบเห็นทั่วไปแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ คือ
2.2.1 การจำแนกตามขนาดได้แก่ การจัดแสดง นิทรรศการ มหกรรม
2.2.2 การจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัด
2.2.3 การจำแนกตามระยะเวลา
2.2.4 การจำแนกตามสถานที่
2.3 หลักการออกแบบนิทรรศการ ให้มีประสิทธิภาพสามารถดึงดูดความสนใจและให้ประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ชมได้ควรยึดหลักการออกแบบดังนี้

2.3.1 ความเป็นเอกภพ หมายถึง การออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ให้สอดคล้องเป็นอันหนึ้งอันเดียวกัน มีความกลมกลืนกันทั้งวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ วัสดุอุปกรณ์
2.3.2 ความสมดุล หมายถึง ลักษณะการจัดนิทรรศการให้มีสัดส่วนขององค์ประกอบเหมาะสม สวยงาม ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย
2.3.3 การเน้น เป็นการจัดสิ่งเร้าหรือองค์ประกอบให้โดดเด่นเฉพาะ เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ผู้ชมสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
2.4 เกณฑ์การพิจราณานิทรรศการ มีข้อพิจราณาดังนี้
2.4.1 ต้องตระหนักว่านิทรรศการนั้น เป็นการจัดให้ผู้ชมดูไม่ใช่จัดให้อ่าน
2.4.2 ต้องดูว่าสถานที่ที่จะจัดนิทรรศการนั้นเหมาะสมหรือไม่
2.4.3 จุดหนึ่งหรือบริเวณหนึ่งที่จัดให้คนดูจะต้องมีจุดมุ่งหมายเดียว
2.4.4 ต้องทำสิ่งยากๆให้ดูง่าย
2.4.5 การใช้สีเป็นการกระตุ้นความรู้สึกของผู้ชมเป็นอย่างดี
2.4.6 ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย
2.5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
2.5.1 ขั้นการวางแผน
2.5.1.1 การตั้งวัตถุประสงค์
2.5.1.2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
2.5.1.3 การกำหนดเนื้อหา
2.5.1.4 การกำหนดสถานที่
2.5.1.5 การกำหนดเวลา
2.5.1.6 การตั้งงบประมาณ
2.5.1.7 การออกแบบนิทรรศการ
2.5.1.8 จัดเตรียมอุปกรณ์
2.5.1.9 การประชาสัมพันธ์
2.5.1.10 การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ

2.5.2 ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและการติดตั้ง
2.5.2.1 การจัดวางหรือติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตามที่วางแผนและออกแบบไว้ แต่สามารถปรับปรุงได้บ้างเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่จริง
2.5.2.2 การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้น ต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ต้องระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายระหว่างการนำเสนอ
2.5.2.3 ควรป้องกันอันตรายอย่างรอบคอบจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีคม
2.5.3 ขั้นการนำเสมอ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
2.5.3.1 ควรจัดพิธีกรให้คำแนะนำประจำกลุ่มเนื้อหาหรือกิจกรรมต่างๆเพื่อตอบข้อสงสัยผู้ชมระหว่างการชมนิทรรศการ
2.5.3.2 ควรตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
2.5.3.3การประชาสัมพันธ์ภายในต้องใช้เสียงพอเหมาะกับจำนวนผู้ชมและบริเวณงาน
2.5.3.4ควรให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มใจ
2.5.3.5ขณะจัดแสดงอาจต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง
2.5.4 ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นตืดตามคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดนิทรรศการแต่ละครั้ง
3. ประสบการณ์นาฏการ
ประสบการณ์นาฎการ หมายถึง ประสบการณ์ที่ใช้แทนประสบการณ์จริง แต่มิได้หมายความว่าจะต้องเหมือนกับประสบการณ์จริงทุกประการ หรือเลียนแบบจากประสบการณ์จริงทุกอย่างไปก็หาไม่
4.การใช้ชุมชนเพื่อศึกษา
การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
ประโยชน์ของการใช้ชุมนุมเพื่อการศึกษา การใช้ชุมชนศึกษามีประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายประการดังนี้
ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้ชีวิตจริงๆ เป็นการเชื่อมโยงสภาพการณ์ในห้องเรียนกับสภาพความเป็นจริง
แหล่งวิชาการในชุมชน ช่วยขยายความรู้เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้น
แหล่งวิชาการในชุมชนมีมากอยู่แล้วทั้งสถานที่ และบุคคล ถ้าครูเลือกและนำมาใช้ให้เหมาะสมก็จะได้ผลคุ้มค่า
เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้พบสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ เร้าความสนใจและเพิ่มพูนความเข้าใจ
ฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีมนุษย์สัมพันธ์ สร้างนิสัยช่างซักถาม สังเกตพิจารณา ฝึกความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกทักษะการใช้ภาษาด้านการฟัง การพูด การเขียน การคิดคำนวณ เป็นเหตุเป็นผลเชิงคณิตศาสตร์ และการคิดเหตุผลเชิง ศิลปะปรัชญา
เป็นวิธีแก้ปัญหาครูขาดความรู้ความชำนาญบางสาขาในชุมชน ทั้งยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษาและชุมชน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน แหล่งทรัพยากรเรียนรู้ในชุมชนมีหลายประเภท กล่าวโดยสรุป คือ
บุคลากร ได้แก่บุคคลผู้มความรู้ความสามารถและประสบการณ์โดยตรงในสาขาอาชีพต่างๆ
สถานที่
วัสดุอุปกรณ์
กิจกรรมของชุมชน
วิธีการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
4.1 การศึกษาภายในโรงเรียน
4.2 การศึกษาในชุมชนใกล้โรงเรียน
4.3 การเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาบรรยาย
4.4 การไปทัศนาศึกษานอกสถานที่

5. สถานการณ์จำลอง
การจัดสถานการณ์จำลองเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนที่จะออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น การเตรียมนักศึกษาฝึกสอน ก่อนที่จะออกไปสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกทักษะอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีคือการฝึกจากสถานการณ์จำลอง
5.1 การใช้สถานการณ์จำลองในการเรียนการสอน ลำดับขั้นในการใช้สถานการณ์จำลองในการสอน ครูอาจทำได้ดังนี้
5.1.1 ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญญา
5.1.2 ผู้เรียนศึกษาปัญหารวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจและแก้ปัญหาตามขั้นตอน
5.1.3 แต่ละกลุ่มเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนต่อชั้นเรียน
5.1.4 ผู้สอนผู้เรียนช่วยกันประเมินค่าโดยพิจารณาเหตุผลว่าวิธีการใดดีและมีเหตุผลที่ดีที่สุด
5.2 ขบวนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง แ นวทางในการแก้ปัญหา สาเหตุของปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาที่มีเหตุผลดีที่สุด
5.3 คุณค่าของการใช้สถานการณ์จำลองในการเรียนการสอน การใช้ประสบการณ์จำลองในการเรียนการสอน
5.3.1 เป็นการให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ
5.3.2 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูงมาก เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้
5.3.3 สามารถจัดประสบการณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ดี สามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3.4 สามารถจัดทดลองจริงได้ตามสมมติฐาน
5.3.5 ควบคุมเวลาเวลาในการเรียนรู้ได้ดี
6. การศึกษานอกสถานที่
การศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ
6.1 คุณค่าของการศึกษานอกสถานการณ์ คุณค่าที่มีต่อผู้เรียนช่วยให้ผู้มีประการณ์ตรง ทำให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
6.2 ขั้นการเตรียมหรือการวางแผน ก่อนออกไปนอสถานการณ์ที่จะต้องเตรียมหรือวางแผน
6.2.1 การเตรียมสำหรับครู โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอสดคล้องกับบทเรียน
6.2.2 การเตรียมสำหรับผู้เรียน โดยวัตถุประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้จากการไปทัศนศึกษา
6.2.3 ขั้นดำเนินกิจกรรม ในขั้นตอนปฎิบัติตามแผนที่กำหนด
6.2.4 ขั้นประเมินผลหรือติดตามผล เมื่อกลับจากการศึกษานอกสถานที่สิ่งที่ต้องทำคือการจัดกิจกรรมประเมินผล
7. กระบวนการกลุ่ม
การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มหรือกลุ่มสัมพันธ์เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฎิบัติเป็นกลุ่ม
7.1 การจัดการเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม หลักการสอนตามทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์แบ่งออกเป็นหลักการใหญ่ๆ 5 ข้อ
7.1.1 ตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนแต่ละวิชา
7.1.2 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือการจัดกิจกรรมเพื่อให้สนองตามจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม
7.1.3 การให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนร่วมกัน ในขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้วิเคราะห์ถึงสิ่งที่กระทำลงไป
7.1.4 การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้เมื่อผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องแล้ว
7.1.5 การประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มวิธีการประเมินผล
7.2 ข้อดีและข้อกัดของกระบวนการกลุ่ม การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่มมีข้อดีและข้อจำกัด

บทที่ 8นวัตกรรมการศึกษา

ต้องเรียบเรียงข้อคำถามให้เกี่ยวข้องกับคำอธิบายทำไว้ก่อนและคำถามข้อต่อไปก็ต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องก่อนหน้าเสมอ
พื้นฐานทางจิตวิทยาของบทเรียนโปรแกรม
เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมน้อมที่สำคัญ คือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ของธอร์นไดต์ โดยใช้ข้อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรง
ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
การแบ่งชั้นการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ เรียงจากน้อยไปยาก
เปิดโอกาสให้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างกระฉับกระเฉง
ให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนอย่างทันทีทันใด
ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นระยะๆ
ประเภทของบทเรียนโปรแกรม
แบ่งเป็น 2 ประเภท
1 แบบเส้นตรง ผู้เรียนทุกคนเรียนผ่านกรอบของบทเรียนทุกรอบ
2 แบบสาขา ผู้เรียนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเรียนผ่านเรียนผ่านทุกกรอบ
ชุดการสอน คือ การวางแผนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อต่างๆร่วมกัน ทฤษฎีที่ก่อให้เกิดชุดการสอน คือ
1 การใช้สื่อประสม คือ การจัดระบบการผลิตสื่อการสอนหลายอย่างมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสมเพื่อใช้สอนในเนื้อหาบทเรียนเดียวกัน
2 การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เป็นวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรมเป็นกลุ่มควบคู่ไปด้วย
3 การใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพในการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญคือผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง
ประเภทของชุดการสอน
แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย เป็นชุดการสอนสำหรับให้ครูใช้ประกอบการบรรยาย
ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็กหรือชุดการสอนศูนย์การเรียน ใช้ประกอบกิจกรรมของผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ
ชุดการสอนรายบุคคล ใช้สำหรับให้ผู้เรียนด้วยตนเองตามความสะดวกและความสนใจของตนเอง

องค์ประกอบของชุดการสอน
คำชี้แจง
จุดมุ่งหมาย
การประเมินผลเบื้องต้น
รายการเนื้อหาวิชาและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
การกำหนดกิจกรรม
การประเมินผลขั้นสุดท้าย

ศูนย์การเรียน
คือ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมการเรียนรู้ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการเรียนการสอน
ประเภทของศูนย์การเรียน
ศูนย์การเรียนในห้องเรียน
ศูนย์การเรียนเอกเทศ
ศูนย์การเรียนสำหรับครู
ศูนย์วิชาการ
ศูนย์การเรียนชุมชน
การสอนแบบจุลภาค คือ การสอนในสถาณการณ์จำลองห้องเรียนง่ายๆ เป็นการสอนที่มุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน
หลักการที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบจุลภาค
การเสริมแรง
การรับรู้ผลย้อนกลับ
การฝึกซ้ำหลายๆ
การถ่ายโอนการเรียนรู้
ทักษะการสอนแบบจุลภาค
ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง
ทักษะสำหรับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ขั้นตอนของการสอนแบบจุลภาค
1.ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก
ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน
ขั้นสอน
ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน
ขั้นตัดสินใจ
ขั้นจบกระบวนการสอนหรือวางแผนเตรียมการสอนอีกเพื่อทดลองสอนกับนักเรียนกลุ่มอื่น
การสอนเป็นคณะ
เป็นวิธีดำเนินการสอนแบบที่เน้นการใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยจัดให้ครูตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันวางแผน
วัตถุประสงค์ของการสอนเป็นคณะ
ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน
ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
มีเวลาให้ผู้เรียนมาก
แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
ส่งเสริมการพัฒนาด้านต่างๆ
แก้ปัญหาความไม่ยุติ
รูปแบบของการสอนเป็นคณะ
แบบมีผู้นำคณะ
แบบไม่มีผู้นำคณะ
แบบครูพี่เลี้ยง
วิธีการดำเนินการสอนเป็นคณะ
การสอนเป็นกลุ่มใหญ่
ความคิดรวบยอด
การสอนเป็นกลุ่มเล็ก
การค้นคว้าด้วยตนเอง






บทที่ 9คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา


ระบบการทำงานของเรื่องคอมพิวเตอร์
การป้อนข้อมูล หมายถึง ส่วนที่นำข้อมูลต่างๆ ป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ การพูด โดยผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น เมาส์ คีบอร์ด สแกนเนอร์ เทปบันทึกเสียง ซีดี
การประมวลผล หมายถึง ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในการคำนวณแลประมวลผลข้อมูลทั้งหลายที่ถูกป้อนเข้าไปเพื่อให้ได้ผลงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ
การแสดงผล หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่จากการแสดงผลจากการคำนวณของ cpu หรือสมองกล
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นการสื่อการเรียนรู้
รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอน รูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะของสื่อประสม
รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
ยอมรับและนับถือตนเอง
รู้จักรับผิดชอบตนเอง
มีพฤติกรรมชื่อสัตย์ต่อตนเอง
คิดอย่างมีเหตุผล
คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์การสังเคราะห์ และเรียบเรียงเป็นระบบอย่างดีแล้ว
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.การโต้ตอบ คือ ความคล่องตัวของคอมพิวเตอร์ที่สามารถตอบสมองความต้องการผู้เรียน
การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
การนำเสนอสารสนเทศในรูปของสื่อประสาน
การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน
การยืดหยุ่นในการเรียนรู้
การโต้ตอบหรือการปฎิสัมพันธ์
การป้อนผลย้อนกลับ
ปริบทที่เกี่ยวกับ อี-เลิร์นนิง
1.ด้านการนำเสนอเนื้อหา
2.ด้านการนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
3.ด้านเกี่ยวกับผู้เรียน






























บทที่ 10การผลิตงานกราฟฟิก

วัสดุที่ใช้ในการผลิตงานกราฟิก
เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดในการออกแบบโดยการขีดเขียนด้วยมือโดยตรงหรือเครื่องมือเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้สวยงาม เหมาะกับแต่ละงานแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ สี ดินสอ ปากกา วัสดุอื่นๆ
1.กระดาษ
กระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อกระดาษไม่เหนียวมาก ใช้กับงานโฆษณา ป้ายนิเทศ ซึ่งมี 2ชนิด คือ ชนิดหนา ชนิดบาง
กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับทำบัตรดำ แผนภูมิ แผนภาพ พื้นภาพผนึก
กระดาษวาดเขียน เหมาะกับวาดภาพด้วยดินสอ ปากกา และสีน้ำ
กระดาษชาร์ทส์ เป็นกระดาษที่มีผิวเรียบ เหมาะกับการจัดป้ายนิเทศ ฉีกปะติด
กระดาษอาร์ตมัน เหมาะกับใช้พิมพ์ปกหรือภาพประกอบหนังสือ
กระดาษปอนด์ ใช้กับงานพิมพ์เอกสารทุกระบบ เขียนด้วยปากกาเมจิกและโปสเตอร์ได้ดีไม่เหมาะกับการระบายสีที่คงทน
2.สีน้ำหรือโปสเตอร์
กระดาษลูกฟูก เหมาะกับทำสื่อการสอนประเภทกล่องหรืองานโครงสร้างรูปร่างรูปทรง
จำแนกตามคุณลักษณะสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม ได้แก่ สีเชื้อน้ำ สีเชื้อน้ำมัน
สีเชื้อน้ำ เป็นสีที่ใช้น้ำ เป็นส่นผสม
สีน้ำ บางใส่ชนิดเหลวบรรจุในหลอดส่วนชนิด แห่งบรรจุในกล่อง ใช้ระบายภาพบนกระดาษสีขาวหรือกระดาษวาดเขียนเท่านั้น
สีโปสเตอร์ เป็นสีมีเนื้อสีหยาบกว่า ใช่ง่ายเหมาะกับการทำสื่อ การสอนได้ดี
สีพลาสติก เป็นสีเชื้อน้ำที่มีเนื้อสีหยาบและเข้มกว่า เป็นสีที่ทนทานต่อแสงแดดและฝนเหมาะใช้งานกับพื้นที่กว้างใหญ่
สีฝุ่น เป็นสีที่มีเนื้อสี เป็นผง ราคาถูก
สีหมึก เป็นทั้งโปร่งแสงทึบแสง
สีเชื้อน้ำมัน เป็นสีที่ใช้มันเป็นส่วนผสมหรือละลายได้

3.วัสดุขีดเขียน
แบ่ง 2 ประเภท
3.1 วัสดุแข็ง ได้แก่ ปากกาและดินสอ
3.1.1 ปากกาปลายแหลม ทำด้วยโลหะ ใช้จุ่มหมึกเขียนลายเส้นได้ขนาดเล็กมาก เหมาะกับงานต้นแบบลายเส้น
3.1.2 ปากกาปลายสักหลาด ทำด้วยสักหลาดแข็ง
3.1.3 ปากกาเขียนแบบ ปากกาคุณภาพดี ใช้กับหมึกที่มีความเข็มกว่าหมึกทั่วๆไป
3.1.4 ปากกาเขียนทั่วไป ใช้จดบันทึก และเขียนภาพลายเส้น
3.1.5 ดินสอดำ ใช้งานร่างแบบเขียนรูป ภาพลายเส้น ภาพแรงเงา
3.2 วัสดุอ่อน เช่น พู่กัน แปรงทาสี และลูกกลิ้ง
3.2.1 พู่กัน ใช้ได้ทั้งเชื้อน้ำและเชื้อน้ำมัน มี2 แบบ พู่กันกลม ใช้ตรวจภาพระบายสี พู่กันแบนเป็นพู่กันด้ามยาวใช้ในการเขียนตัวอักษร
3.2.2 แปรงทาสี เป็นวัสดุที่มีขนแปลงแข็งด้ามสั้น ใช้กับงานพื้นที่กว้างๆ
3.2.3 ลูกกลิ้ง เป็นวัสดุที่มีลักษณะเป็นล้อหมุนหุ้มสวมด้วยผ้า หรือใยสังเคราะสำหรับดูดซับสี

4. วัสดุอื่นๆ
เช่น ไม่ฉากชุด ไม้ที มีดตัดกระดาษ กาวน้ำ กระดาษกาว เทปกาว กรรไกร ไม้บรรทัด
ภาพการ์ตูน
เป็นภาพที่นิยมนำมาใช้ประกอบสื่อทัศนวัสดุต่างๆ
การ์ตูน คือ ภาพลายเส้นหรือภาพวาดที่มีลักษณะผิดเพื้อนความจริง แต่ก็ยังยึดหลักเกณฑ์ของความจริงอยู่บ้าง เขียนขึ้นเพื่อการสื่อความสื่อความหมายมุ่งให้อารมณ์ด้วยการล้อเลียน เสียดสี ประชดประชัน
การคูณกับการเรียนการสอน เป็นสื่อการสอนที่ดีทำให้เด็กๆชอบ การ์ตูนที่นำใช้กับการเรียนการสอนควรมีลักษณะ คือ คอมสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เป็นภาพตลกขบขัน ให้แง่คิดในทางที่ดี
รูปลักษณะของการ์ตูน
แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
การ์ตูนโครงร่าง เป็นการ์ตูนอย่างง่ายที่เขียนโดยเส้นเดียวๆ แสดงท่าทางต่างๆ เหมาะใช้ประกอบการสอบ
การ์ตูนล้อเลียนของจริง เป็นภาพเขียนบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง โดยมีจุดมุ่งหมายจะล้อเลียนให้เกิดอารมณ์ขึ้น
การ์ตูนเลียนของจริง เป็นลักษณะและสัดส่วนคล้ายกับของจริงตามธรรมชาติทั้งสัดส่วนรูปร่างท่าทาง และสภาพแวดล้อม
4.เทคนิคการเขียนภาพการ์ตูน
4.1 เขียนภาพการ์ตูนลายเส้นธรรมดา มุ่งให้เกิดอารมณ์ตลกขบขันจากการบิดเบี้ยวของเส้นและสีควรมุ่งถึงปัจจุบันดังนี้
4.1.1 ความเชื่อมั่นในตนเอง
4.1.2 วัสดุเขียน
4.1.3 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเส้น
4.1.4 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้
4.1.5 การ์ตูนแสดงพฤติกรรมได้ 2 ส่วนคือ ส่วนใบหน้า และลำตัว
4.2 การวาดภาพ การ์ตูนเรื่อง แบ่งได้ดังนี้
4.2.1 ให้ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาภาพการ์ตูนหลายๆภาพ
4.2.2 การจัดภาพการ์ตูนให้เป็นเรื่องราว
5. ประโยชน์ของการเขียนภาพการ์ตูน
5.1 ด้านร่างกาย เป็นการฝึกเพื่อเชื่อมโยงการรับรู้สู่การสัมผัส และถ่ายทอดออกเป็นรูปธรรม
5.2 ด้านอารมณ์ เน้นให้มีบรรยากาศ แห่งความสำเร็จย่อมส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกภูมิใจ อารมณ์ดี จิตใจผ่องใส
5.3 ด้านสังคม ผู้เรียนมีอิสระสามารถลุกเดินไปมาเพื่อการผ่อนคลายได้
5.4 ด้านสติปัญญา
6.ตัวอักษร
แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
การประดิษฐ์ด้วยมือโดยตรง
เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ใช้วัสดุสำหรับ เช่น พู่กัน ดินสอ ปากกา ขีดเขียนลงบนวัสดุ การประดิษฐ์จะเกิดความชำนาญและสร้างผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการดังนี้
1.1 การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันแบน
1.2 การประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง

2.การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการประดิษฐ์ตัวอักษรมีหลายชนิดนับตั้งแต่เครื่องมือพื้นฐาน เช่น เท็มเพลท ตัวอักษรลีรอย ตัวอักษรลอก จนกระทั่งเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์
2.1 เท็มเพลท เป็นแบบตัวอักษรที่เจาะทะลุเป็นตัวๆบนแผ่นพลาสติกบางๆ
2.2 ตัวอักษรลีรอย เป็นร่องตัวอักษรบนไม้บรรทัด
2.3 ตัวอักษรลอก เป็นตัวอักษรบนแผ่นพลาสติก
2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องมีความรู้พื้นฐาน ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานกราฟิกสามารถจัดงานกราฟิกได้อย่างสวยงาม เช่นโปรแกรมสร้างสรรค์งานกราฟิก โปรแกรมสำหรับการนำเสนอ

้นมีความเข็มกว่าหมึกทั่วๆไป